RECENT STORIES

วิธีการขึ้นรถไฟที่สนามบิน Schiphol ไปยังเมืองต่างๆในเนเธอร์แลนด์

สำหรับนักเรียนใหม่ที่จะมาเนเธอร์แลนด์ ฉบับนี้เรามีขั้นตอนการเดินทางนับตั้งแต่ที่เครื่องบินของน้องๆเดินทางมาถึง Schiphol Airtport ไปจนถึงเมืองที่น้องๆอาศัยอยู่กันครับ

การเตรียมตัววางแผนก่อนการเดินทางด้วยตัวเอง

การวางแผนล่วงหน้าสามารถทำได้บนอินเตอร์เน็ต สามารถเตรียมตัวการเดินทางด้วยตนเองแม้ว่ายังอยู่ในประเทศไทย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เว็บไซต์ 9292 :

https://9292.nl/en

– สามารถใช้วางแผนการเดินทางโดย public transport ทุกประเภทจนเราถึงที่หมาย ตัวอย่างเช่น ต้องการเดินทางจาก สนามบิน Schiphol ไป Wageningen University  (Forum building) ซึ่งใกล้กับตึก Bornsesteeg (ป้ายรถเมล์ ) เราสามารถใส่รายละเอียดลงไปบนหน้าเวปไซต์แล้วกด Plan my journey

fig1

– ระบบจะวางแผนการเดินทางให้ โดยบอกจำนวนที่เปลี่ยนรถทั้งหมด (changes) ระยะเวลาเดินทาง (1 ชั่วโมง 27 นาที) และรอบรถรอบถัดไป จากข้อมูลข้างบนจะเห็นได้ว่าเราต้องเดินทางไปสถานีรถไฟ Utrecht Centraal ก่อน จากนั้นต้องเปลี่ยนรถไฟที่ชานชลา (spoor-อ่านว่าสปอร์ในภาษาดัชต์) 11a โดยมีเวลาเปลี่ยน 6 นาที หากมีสัมภาระเยอะ สามารถวางแผนนั่งรถไฟจาก Utrecht Centraal ไปยัง สถานีรถไฟ Ede-Wageningen ในรอบถัดไปได้เช่นกัน ค่าเดินทางเราควรเตรียมมาเป็นเงินสดล่วงหน้าให่มีจำนวนเท่ากับ full-fare

2. เว็บไซต์ NS :

http://www.ns.nl/en/travellers/home

– สามารถใช้วางแผนได้เหมือน 9292 แต่เวปนี้จะเน้นการให้ข้อมูลรถไฟมากกว่า

Fig2

– ตัวอย่างข้างบนนี้คือการวางแผนเฉพาะเดินทางไปยังสถานี Ede-Wageningen โดยรถไฟ จะสังเกตได้ว่าราคาตั๋วรถไฟชั้น 1 จะมีราคาสูงกว่าชั้น 2 มาก ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีการวางแผนล่วงหน้านานเกินไป ควรเข้ามาตรวจสอบแผนการเดินทางอีกครั้งก่อนวันที่จะขึ้นเครื่องมาเนเธอร์แลนด์

การเดินทางโดยรถไฟ (หลังจากเครื่องลงแล้ว)

1. หลังจากที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและรับกระเป๋าเดินทางจากสายพาน ก็จะเดินผ่านทางออกมาที่ Arrival Terminal ซึ่งอาจจะเป็น 1-2 หรือ 3-4

2. เมื่อออกมากจากทางออก

Schiphol-1

– ให้มองหาป้ายสีเหลืองที่บอกทางไปที่รถไฟ

Schiphol-2

3. บริเวณทางลงรถไฟจะเป็นลานกว้างเรียกว่า Schiphol Plaza

Schiphol-3

4. จะมีคนเดินทางเยอะมาก แต่ว่าให้มองหาบริเวณที่ขายตั๋วรถไฟ

    Schiphol-4

Schiphol-5

Schiphol-6

5. วิธีการซื้อตั๋วรถไฟ

1. กรณีที่ซื้อตั๋วจากพนักงานที่เคาน์เตอร์

– วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้เงินสด

– บอกพนักงานว่าจะเดินทางไปที่เมืองไหน และให้บอกว่าซื้อตั๋วแบบเต็มราคา ( full-fare) แล้วเขาจะบอกราคามา จ่ายเงินและจะได้ตั๋วรถไฟสีเหลือง ตัวอย่างนี้ซื้อจาก Ede-Wageningen เดินทางไป Schiphol (เป็นการเดินทาง “มา” Schiphol))

ticket

– ข้อมูลบนตั๋วมีดังนี้ (ตามหมายเลข)

1. วันเดินทาง 27 มกราคม 2555

2. ตั๋วสำหรับโดยสารชั้น 2 (Second class)

3. เดินทางเที่ยวเดียว ( Enkele reis = Single trip)

4. จาก Ede-Wageningen ไปยัง Schiphol

5. ราคา 8.30 ยูโร

6. ตั๋วรถไฟนี้ซื้อเพื่อใช้กับบัตรลดราคา 40% (OV-Chipkaart)

– ตั๋วรถไฟจะบอกรายละเอียดสถานีต้นทางและทางปลายทาง แต่ในตั๋วจะไม่บอกเวลาว่าต้องขึ้นรถไฟที่ชานชลา (Platform or Spoor) อะไร ซึ่งต้องเดินไปดูที่ป้ายแสดงเวลารถออกอีกครั้ง (ระบบรถที่นี่จะต้องดูเวลารถออกและชานชลาที่ป้ายในแต่ละสถานีเอาเอง)

2. กรณีที่ซื้อตั๋วจาก NS ticket machine

– วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ debit card maestro ที่มีระบบ pin (European banks) หรือ credit card (เสียค่าธรรมเนียม)

– ที่เครื่องซื้อตั๋ว เป็นระบบ touch screen สามารถเลือกภาษาอังกฤษได้

schiphol 6

schiphol 7

– ให้เลือก Single จากนั้นให้เลือก destination เช่น Amsterdam, Utrecht หรือ Ede-Wageningen การเลือกสถานีสามารถเลือกตามตัวอักษรได้

– Second class -> Full fare -> Valid today -> จำนวนตั๋ว  จากนั้นเลือกวิธีการจ่ายเงิน หากซื้อตั๋วแบบ open date จะไม่มีวันที่ระบุไว้บนตั๋ว ก่อนใช้จะต้องเอาตั๋วไปประทับวันและเวลาเดินทางที่เครื่องสีเหลือง ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณก่อนทางลงไปยังชานชลา หากลืมอาจถูกปรับ

schiphol 8

6. ป้ายบอกเวลารถไฟจะมี 2 แบบ คือ

– แบบแรกคือป้ายธรรมดาทีเป็นสีเหลือง ป้ายแบบนีจะบอกเวลารถไฟที่ยังแต่ละเมืองต่างๆตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน โดยจะมีรายละเอียดว่า รถไฟออกเวลากี่โมงที่ชานชลาที่เท่าไร สถานีแรกที่อยู่ซ้ายมือคือสถานีปลายทาง แต่ถ้าสถานีแรกไม่ได้เป็นสถานีปลายทาง ให้มองไปทางขวาเพื่อดูว่าสถานที่ที่รถไฟผ่านสถานีที่เราต้องการไปหรือไม่ ถ้าผ่านสถานีที่เราต้องการไป ให้มองย้อนกลับมาที่วัน เวลาและชานชลาที่รถไฟออก (กรุณาไปให้ตรงเวลาที่รถไฟออก ไม่เช่นนั้นก็ต้องรอขบวนอื่น ซึ่งก็ต้องหาจากป้ายสีเหลืองนี้เหมือนเดิม)

Schiphol-8 Schiphol-9  Schiphol-10

– แบบที่สองคือ ป้ายจอคอมพิวเตอร์สีฟ้า ป้ายนี้จะบอกสถานีปลายทาง เวลา ประเภทรถไฟ (Inter City จะเร็วกว่า Sprinter เพราะว่าจอดเฉพาะสถานีหลัก) ชานชลา และสถานีที่จะต้องเปลี่ยนขบวน ป้ายชนิดนี้เหมาะสำหรับดูเวลาการเดินทางไปยังเมืองหลัก เช่น Amsterdam, Rotterdam, Leiden, Utrecht, Den Haag, Nijmegen, Venlo, Roosendaal เป็นต้น ป้ายนี้จะเข้าใจและใช้ง่ายกว่าป้ายสีเหลืองแต่ว่าจะไม่บอกรายละเอียดของสถานีที่จอดระหว่างทาง

Schiphol-11 Schiphol-12

7. เมื่อรู้เวลาและชานชลาแล้ว ก็เดินไปยังทางลงชานชลา บริเวณด้านบนป้ายจะบอกสถานีปลายทางและเวลาที่รถไฟออก ซึ่งป้ายของแต่ละชานชลาจะบอกรายละเอียดว่ารถไฟขบวนนั้นจะจอดที่ไหนบ้างก่อนถึงสถานีปลายทาง เช่น ในรูปสถานีปลายทางคือ Nijmegen และรถไฟจะจอดที่สถานีดังต่อไปนี้ Amsterdam Zuid, Amsterdam Bijmer Arena และ Utrecht Centraal

Schiphol-13   Schiphol-14

8. เมื่อลงมาที่ชานชลาแล้ว จะมีป้ายบอกรายละเอียดว่ารถไฟขบวนถัดไปจะไปยังสถานีอะไร จะออกเวลากี่โมงและผ่านสถานีไหนบ้าง

    Schiphol-16  Schiphol-17

9. ก่อนที่จะถึงแต่ละสถานีเจ้าหน้าที่จะประกาศเป็นภาษาดัชต์และภาษาอังกฤษ ถ้าฟังไม่ทัน ก็สามารถถามคนที่นั่งไปด้วยกันได้ว่าใช่สถานีที่จะต้องลงหรือเปล่า

10. นั่งบนรถไฟตู้ที่เขียนเลข 2 (Second class)

11. ขอให้เดินทางไปยังที่พักโดยสวัสดิภาพครับ

หมายเหตุ

ระหว่างที่รอรถไฟอยู่ให้สังเกตเก้าอี้นั่งสีส้ม บนเก้าอี้จะมีสำนวนคำคมเป็นภาษาอังกฤษและภาษาดัชต์เกี่ยวกับชีวิตการเดินทาง เช่น “How far we travel in life matters far less than those we meet along the way – Unknown”

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.