RECENT STORIES

การเตรียมตัวก่อนเดินทางกลับประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา (จากเว็บเก่า)

ผมได้เขียนบทความลง TSAN ไปแล้วก่อนที่จะเดินทางมายังประเทศเนเธอร์แลนด์นี้ เพื่อให้เป็นการครบสมบูรณ์ของการเดินทาง ผมจึงขอท่านบรรณาธิการเขียนเรื่องการเตรียมตัวก่อนเดินทางกลับด้วยครับ ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาและกำลังจะเดินทางกลับไปพัฒนามาตุภูมิ บ้านเกิดของพวกเรา หรือ อาจเป็นผู้ที่ต้องเดินทางกลับหลังจากมาฝึกอบรม ทำวิจัย หรือมีเหตุต้องเดินทางกลับก่อนที่จะจบ สิ่งที่เราควรจะทำมีดังนี้

1. Diploma legalization

คือ การที่เอาปริญญาของเราไปทำให้ถูกต้องตามกฎหมายของดัชต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละที่ โดยถ้าจะทำให้ครบสูตรจริงๆก็คือต้องไปทำ 3 แห่ง

1.1 นำไปปริญญาไปประทับตราที่ กระทรวงศึกษาธิการของดัชต์ (Dutch Ministry of Education, Culture and Science) โดยไปที่ IB-groep section เมือง Groningen (Steenhouwerskade 10, 9718 DA, Groningen)ไปไม่ยากครับ ลงสถานีรถไฟแล้วเดินเพียงแค่ 10-15 นาที เดินไปที่ Emmaplein แล้วเดินไปอีกหน่อยก็ถึงครับ โดยจะต้องมีการส่งเอกสารที่เราจะนำไปประทับตราไปให้ที่ IB groep ก่อน โดยเป็นการส่ง fax ไปที่ 050-5998799 หรือสแกนเอกสารและส่งไปที่ ks.dw@ib-groep.nl โดยเขียนรายละเอียดต่างๆส่งไปด้วยให้ละเอียดว่าเราเป็นใคร จบจากที่ไหนเมื่อไหร่ และต้องการนัดเอาใบปริญญาไปประทับตราเมื่อไหร่ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทรไปได้ที่ 050-5998036 หรือดูได้จาก website

http://www.ib-groep.nl/InternationalVisitirs/Diploma_assessment/Going_abroad/s20_legalizing.asp

1.2   นำใบปริญญาที่มีตราประทับของกระทรวงศึกษาของดัชต์ไป ยืนยันด้วยการประทับตราจาก

กระทรวงต่างประเทศของดัชต์ ที่ Den Haag

1.3 นำใบปริญญาที่มีตราประทับของกระทรวงศึกษาของดัชต์ และตราประทับจากกระทรวงต่างประเทศดัชต์ไปยืนยันด้วยการประทับตราจากประเทศของเราเอง เช่น ที่สถานทูตไทย หรือประเทศที่เราต้องการส่งเอกสารไปเพื่อการศึกษาหรือการหางานทำเพิ่มเติม

ผู้ที่เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่มีงานอยู่แล้วอาจไม่ต้องไปทำทุกที่ก็ได้ ผมเองและเพื่อนหลายคนไปทำที่ Groningen เท่านั้น ส่วนผู้ที่ยังไม่มีงานอาจต้องทำให้ครับสูตรเพื่อที่จะให้ใบปริญญาของเราถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อใช้ในการสมัครงานหรือศึกษาต่อที่อื่น

2. การส่งสัมภาระกลับประเทศไทย

ก่อนอื่นก็ต้องพยายามขจัดของที่ไม่จำเป็นออกให้หมด อย่าพยายามขนไปมาก มันแพงครับที่นี้ก็ลองหาบริษัทที่จะส่งของกลับ ตัวผมเองใช้บริการของบริษัท Kerry Logistic BV.

Contact person: Mr. Mark Baas, Air Export Manager Netherlands

Kerry Logistics (Western Europe) Amsterdam, the Netherlands

AMB Fokker Logistics Center 2B, Fokkerweg 300, 1438 AN Oude Meer

T.  +31 (0) 20 5046813 | F. +31 (0) 20 5046810 | M.  +31 (0) 6 50840381 | E.mark.baas@kerrylogistics.com

Asia Based, China Focus, Global Network | www.kerrylogistics.com

โดยมีค่าบริการคร่าวๆดังนี้ (ราคา ณ เดือน  May 2009)

Airfreight

Minimum                        : Eur 65

+1 kgs                                : Eur 1.35 p/kgs

+100 kgs                        : Eur 0.75 p/kgs

Fuel surcharge                        : at cost, currently being Eur 0.32 p/kgs

Security fee                        : at cost, currently being Eur 0.15 p/kgs

Local charges Netherlands

Export handling                        : Eur 35

Security scan                        : Eur 35

Collection                        : upon request, depends on collection address

Local charges Thailand

Import handling / delivery        : USD 120 + USD 0.45 p/kgs

ผมคำนวณคร่าวๆของ 100 kg. โดยให้มารับที่บ้านที่ Utrectht และไปส่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ราคาคร่าวๆดังนี้

Airfreight                65 + (0.75 x 100) = 140 euros

Fuel surcharge       0.32 x 100 = 32 euros

Security fee           0.15 x 100 = 15 euros

Local charges Netherlands

Export handling                       35 euros

Security scan                          35 euros

Collection (at Utrecht)              25 + (0.15 x 100) = 40 euros

Local charges Thailand

Import handling / delivery        :120 + (0.45 x 100) = 165 USD (125 euros)

Total pay for 100 kg (pick up at Utrecht, and send to Chiang Mai University)

= 140 + 32 + 15 + 35 + 35 + 40 + 125 = 422 euros.

พอวันจริงมารับผมมีทั้งหมด 9 กล่องน้ำหนักรวมประมาณ 175 kg ผมจ่ายไปทั้งหมด 485 ยูโรครับ ตกแล้วราคาประมาณ 2.77 ยูโรต่อกิโลกรัม

ที่อยากเตือนเพิ่ม คือ

1) กล่องควรมีขนาดเท่ากัน หนังสือ เสื้อผ้าและของควรใส่ถุงพลาสติกอย่างดีกันเปียกชื้นและการหล่นกระจายในกรณีกล่องฉีกขาด

2) พยามยามเตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อมเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาทางด้านศุลกากรโดยที่ควรต้องถ่ายเอกสารการได้ทุน การมาเรียน และวันที่เข้าประเทศครั้งแรกให้พร้อมด้วยไม่เช่นนั้นศุลกากรจะตามเก็บภาษีจากของที่เราส่งไปแน่นอน

ที่นี่มีผู้ถามว่าแล้วถ้าส่งไปทางเรือล่ะ คำตอบคือต้องลองติดต่อบริษัทดูเองครับ เท่าที่ทราบคือต้องมีการจัดการของของเราให้ดี มีฐานไม้ที่มั่นคงและห่อกล่องด้วยพลาสติกด้วย ซึ่งผมคิดว่ามันถูกกว่าแต่ก็ค่อนข้างวุ่นวายโดยเฉพาะพวกที่ต้องแบกของไปมาด้วยจักรยานอย่างเรา

3. การยกเลิกบัตรและการบริการต่างๆ

1) บัตรรถไฟ หรือ Voordeelurenabonnement kaart (korting kaart) ที่เรามีอยู่กันนี่ อย่าลืมไปยกเลิกนะครับ ที่เราต้องจ่ายและมีการหักเงินจากธนาคารทุกปี อย่าคิดว่าหมดอายุอีกตั้งหลายปี แล้วเราก็ถอนเงินจากบัญชีธนาคารหมดแล้วสามารถใช้ต่อได้โดยที่ไม่เสียเงิน ค่าที่เขาเก็บเงินไม่ได้และเป็นหนี้สะสมไปเรื่อยๆจะถูกตามเก็บทีหลังและขึ้นบัญชีไว้

2) ประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพที่เรามีการทำกันอยู่โดยอาจให้มหาวิทยาลัยจ่าย หรือ เราจ่ายเองก็อย่าลืมไปยกเลิกนะครับ ผมมีเพื่อนชาวต่างชาติที่อยู่บ้านเดียวกันแต่กลับไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้รับปริญญาและว่าจะกลับมาสอบทีหลัง เมื่อกลับไปก็ไม่ได้ยกเลิกประกันสุขภาพ ทางบริษัทก็ทำให้ไปเรื่อยๆ และส่งเอกสารมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี พอเจ้าตัวจะกลับมาสอบและเดินทางเข้าประเทศ ปรากฏว่าเกิดปัญหาขึ้นเพราะ บริษัทประกันเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนหลายพันยูโร รวมค่าดอกเบี้ย และการส่งฟ้องศาลด้วย เจ้าตัวต้องทำเรื่องวุ่นวายมากเพื่อที่จะสามารถขอวีซ่าและเดินทางเข้าประเทศได้ ตัวอย่างนี้เป็นอุทาหรณ์นะครับว่าคนดัชต์นี่เรื่องการเงินนี่เป็นเรื่องใหญ่ เขาไม่ยอมปล่อยเราหายไปฟรีๆแน่นอน ดังนั้นก่อนกลับเมืองไทย ก็จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อย

3) ธนาคาร บัญชีธนาคารของเราก็อย่าลืมไปยกเลิกนะครับ ทิ้งไว้เป้นระยะเวลานานก็ไม่ดี อาจเกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้นลองไปติดต่อธนาคารว่าจะยกเลิกบัญชีของเราซะ บางทีเราสามารถส่งจดหมายมายกเลิกได้ อย่างเช่น ผมใช้บัญชีของ ABN AMRO อยู่ก็สามารถใช้วิธีการส่งจดหมายมายกเลิก พร้อมทั้งแนบสำเนา หนังสือเดินทาง หรือ resident permit มาก็ได้เช่นเดียวกันครับ

4. การแจ้งเดินทางกลับและยกเลิกการอยู่อาศัยในประเทศกับ IND

ก่อนกลับก็อย่าลืมไปที่ IND ที่เมืองที่ตัวเองอยู่ ไปติดต่อว่าจะเดินทางกลับแล้ว และ ไม่พำนักอาศัยต่อไปแล้วทาง IND ก็จะจัดการให้แล้วแต่กรณีไป (อย่างว่าแหละครับ IND ที่นี่มีหลายมาตรฐานขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่เราไปติดต่อด้วยอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ …แหะ แหะ เหน็บเล็กน้อย) กรณีของผม เจ้าหน้าที่บอกว่าทางมหาวิทยาลัยจะส่งจดหมายมาบอกเองว่า นักศึกษาคนนี้จบการศึกษาแล้ว ผมก็ไปติดต่อทางเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยก็เสร็จพิธีแล้ว แต่สำหรับบางมหาวิทยาลัยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ทางด้านวิเทศสัมพันธ์ดูแลก็จะลำบากหน่อยนะครับ

เมื่อเสร็จสิ้นการเตรียมการทุกอย่างแล้ว ก็มาจัดกระเป๋าของตัวเอง และก็พร้อมเดินทาง อย่าลืมไปร่ำลาทั้งคนดัชต์และคนไทย เพื่อนสนิท มิตรสหาย ผู้มีพระคุณทั้งหลายแหล่ที่ดูแลเราในช่วงนี้ จะเลี้ยงจะกินก็ดูเวลาตัวเราเองด้วย อย่าเลี้ยงจนเพลินจนไม่มีเวลาจัดของนะครับ ลาก่อนประเทศเนเธอร์แลนด์กับแผ่นดินแบนๆ ทุ่งหญ้าสีเขียวขจี ลำคลองมากมาย และท้องฟ้าสลับสีที่เราเห็นจนคุ้นตา หวังว่าเราจะได้กลับมาเหยียบแผ่นดินแห่งนี้อีกในวันข้างหน้า

โดย พี่บิ๊ก

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.